ลิขสิทธิ์คืออะไร..?

ลิขสิทธิ์ คือเครื่องมือที่บุคคลหรือธุรกิจใช้เพื่อหาเลี้ยงตนเองได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นมาจากแนวคิดง่ายๆ ว่า คนที่ผลิต, สร้าง หรือลงทุนในงานสร้างสรรค์ สมควรจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่างานนั้นจะถูกทำซ้ำและนำออกสู่สาธารณชนในลักษณะใด

แนวคิดเรื่องลิขสิทธิ์ ได้รับความเคารพมาเป็นระยะเวลากว่า 200 ปีในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ลิขสิทธิ์ได้สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ จากการสร้างสรรค์และเผยแพร่เพลง, วรรณกรรม, ศิลปะ, ภาพยนตร์, ซอฟต์แวร์และงานสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ลิขสิทธิ์ยังช่วยปกป้องวัฒนธรรมและคุ้มครองความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางศิลปะ

ลิขสิทธิ์ เป็นผู้วางรากฐานความสำเร็จของเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยเป็นส่วนสนับสนุนตำแหน่งงานให้แก่คนหลายล้านคนทั่วโลก ความเติบโตที่น่าทึ่งของธุรกิจศิลปะ, วัฒนธรรมและงานสร้างสรรค์ในเศรษฐกิจปัจจุบันนั้น คงจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไร้ความคุ้มครองอย่างเข้มแข็งของลิขสิทธิ์ที่ผ่านการพัฒนาขึ้นมานับสิบๆ ปีในหลายประเทศ

ตัวเลขประมาณการมูลค่าของอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ พบว่าอยู่ที่ 360,000 ล้านยูโร และ 430,000 ล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณ นับเป็นสัดส่วนถึง ร้อยละ 5 ของ GDP และยิ่งเมื่อเราเข้าสู่ยุคของการค้าอิเล็คทรอนิคส์ งานลิขสิทธิ์ยิ่งนับเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีมูลค่าสูงสุดที่สามารถซื้อ-ขายออนไลน์ได้

ลิขสิทธิ์ ช่วยคุ้มครองทุกคนที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรมดนตรี ตั้งแต่ผู้ที่อยากเป็นศิลปิน ไปจนถึงศิลปินชื่อดังที่มีผลงานขายดีที่สุด และตั้งแต่บริษัทผู้บันทึกเสียงเล็กในประเทศ ไปจนถึงผู้สร้างสรรค์งานระดับระหว่างประเทศ ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันกับทุกคนที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานดนตรีว่า เขาจะได้รับผลตอบแทนจากงานของพวกเขา

ลิขสิทธิ์ ช่วยคุ้มครองทุกคนที่เกี่ยวของกับอุตสาหกรรมดนตรี ตั้งแต่ผู้ที่อยากเป็นศิลปิน ไปจนถึงศิลปินชื่อดังที่มีผลงานขายดีที่สุด และตั้งแต่บริษัทผู้บันทึกเสียงเล็กในประเทศ ไปจนถึงผู้สร้างสรรค์งานระดับระหว่างประเทศ ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันกับทุกคนที่มีส่วนในการสร้างสรรค์งานดนตรีว่า เขาจะได้รับผลตอบแทนจากงานของพวกเขา

ลิขสิทธิ์ ช่วยคุ้มครองมูลค่าที่แท้จริงเบื้องหลังของงานเพลงนอกเหนือไปจากมูลค่าที่เกิดจากยอดขาย ลิขสิทธิ์ช่วยเป็นตัวแทนและให้ผลตอบแทนกับการสร้างสรรค์, หยาดเหงื่อ และการตรากตรำทำงานของผู้ที่สร้างและขายงานเพลง สัดส่วนราคาที่มาจากราคาขายของเทปหรือซีดีที่เกิดจากมูลค่าการผลิตนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย มูลค่าที่แท้จริงนั้นอยู่ในสิทธิและความคิดสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง

อุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงในระดับระหว่างประเทศนั้นอาจจะเติบโตได้ด้วยแรงผลักดันจากกลไกของตลาดและการค้า แต่หากมีความคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ไม่เพียงพอ อุตสาหกรรมนี้ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ ผู้บันทึกเสียงได้ลงทุนไปหลายพันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับศิลปินหน้าใหม่แต่ละรายทั่วโลก ถ้าความคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์ไม่เข้มแข็ง ก็จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนกับศิลปินใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น

ปัจจุบัน ยุคสมัยของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต ได้ก่อให้เกิดความเสียหายที่สูงกว่าการขยายตัวของการละเมิดลิขสิทธิ์ของแผ่นซีดี

อุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการขายสินค้าแบบดิจิตอล วิทยาการการรับ-ส่งเพลงได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมากมาย ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้สร้างสรรค์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค แต่เพื่อที่จะให้เกิดความปลอดภัยในการคุ้มครองโลกของเสียงเพลงออนไลน์ให้เหมือนกับความคุ้มครองในโลกความเป็นจริงแบบเดิม กฎหมายลิขสิทธิ์ก็ต้องมีความทันสมัยด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หลักการพื้นฐานเบื้องหลังกฎหมายยังคงไม่มีความเปลี่ยนแปลง กฎหมายลิขสิทธิ์ต้องช่วยส่งเสริมความคุ้มครองที่เข้มแข็งต่อศิลปิน ผู้ประพันธ์ และผู้ผลิตผลงาน ให้ปลอดภัยจากการละเมิดทางอินเตอร์เน็ต ผู้ถือสิทธิยังต้องมีความสามารถใช้วิทยาการทางอินเตอร์เน็ตเพื่อบริหารและควบคุมการใช้ผลงานของตนด้วยเช่นกัน

การทำซ้ำคืออะไร

คุณ “ต้อง” ได้รับอนุญาต ก่อนที่จะมีการทำสำเนาเพลงทุกครั้ง ไม่ว่าจะนำใช้เพื่อเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว (มีข้อยกเว้นอยู่เพียงไม่กี่กรณี ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์) ลิขสิทธิ์มีผลกับงานไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดหรือมีต้นตอมาจากที่ใด ไม่ว่าคุณจะดาวน์โหลดเพลงมาจากเว็บไซต์ถูกกฎหมาย หรือทำสำเนามาจากซีดีที่ซื้อมาอย่างถูกต้องก็ตาม

บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ออกใบอนุญาตให้ในนามของสมาชิกสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทยแก่บุคคลและองค์กรที่ประสงค์ให้การกระทำซ้ำเพื่อจุดประสงค์ใดๆ ก็ตาม (เช่น อัดเพลงเป็นเสียงแบ็คกราวนด์จำหน่าย เป็นต้น) เป็นไปอย่างถูกกฎหมาย ด้วยบริการออกใบอนุญาตของบริษัท ท่านจะสามารถใช้งานเพลงได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเพลงของบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง และค่ายเพลงอิสระจำนวนมาก

ในหน้านี้ ท่านจะสามารถคลิกหาแบบฟอร์มขออนุญาตกระทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียง และหาคำตอบสำหรับคำถามเรื่องการขออนุญาตที่มีการถามเข้ามาบ่อยๆ หากยังคงต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม โปรดอีเมล์มาได้ที่ info@mpcmusic.co.th เรายินดีช่วยเหลือเสมอ

สิ่งบันทึกเสียงคืออะไร

สิ่งบันทึกเสียง หมายถึง สิ่งที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ได้บันทึกลงในสื่อเช่น คอมแพคท์ดิสก์, คาสเสทท์, เทป หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถบันทึกเสียงได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือต้องเป็นเสียงที่อยู่บนซีดี (ไม่ใช่ตัวแผ่นซีดี)

จึงจะถือว่าเป็นสิ่งบันทึกเสียงได้ ความคุ้มครองในงานสิ่งบันทึกเสียงนั้น เกิดขึ้นตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ อันได้แก่ ความคุ้มครองในการนำงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และการนำงานออกแพร่เสียงแพร่ภาพ

การนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนคืออะไร

บริษัท ออกใบอนุญาตให้แก่การนำสิ่งบันทึกเสียงหรือมิวสิควิดีโอออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน สิ่งบันทึกเสียงจะเรียกว่า “นำออกเผยแพร่” ก็ต่อเมื่อมีการ “ได้ยินเสียงเพลง” และเช่นเดียวกัน มิวสิควิดีโอจะเรียกว่า “นำออกเผยแพร่”

ก็เมื่อมีผู้ได้ยินและได้รับชม ดังนั้น “การนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน” จึงหมายถึง การเล่นสิ่งบันทึกเสียงหรือการนำเสนอภาพประกอบเสียงให้ได้รับชมรับฟังในที่สาธารณะ การตีความคำว่า “สาธารณะ” นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ฟัง และผลกระทบที่การแสดงนั้นมีต่อมูลค่าของงานลิขสิทธิ์ ดังนั้นการแสดงแต่ละประเภทก็ต้องมีการพิจารณาแยกเป็นคราวๆ ไป ว่ากรณีใดจึงจะเรียกว่า “สาธารณะ” หรือ “สาธารณชน” อย่างไรก็ตาม ศาลได้มีแนวทางพิจารณาไว้บางประการเกี่ยวกับเรื่อง สาธารณชน ว่าสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสาธารณชน

การแสดงที่ไม่คิดเงิน
1.ผู้ชมกลุ่มเล็ก
2.ไม่เก็บค่าเข้า เพื่อฟังหรือชมการแสดง
3.การแสดงนั้นมีเพื่อกลุ่มบุคคลเฉพาะ เช่น สโมสร

ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งบันทึกเสียง การนำออกเผยแพร่นั้นไม่สนใจว่าสื่อที่ใช้จะเป็นสื่อชนิดใด ไม่ว่า เทป ซีดี ฯลฯ และเช่นเดียวกัน มิวสิควิดีโอที่ฉายให้รับชมนั้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อใด จอภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอ หรือดีวีดี ในทุกกรณีต้องได้รับอนุญาตเพื่อนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ จากเจ้าของสิทธิหรือผู้ได้รับมอบอำนาจอย่างถูกต้องเท่านั้น โดยในประเทศไทย เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียงเพลงสากล ได้รวมตัวกันและมอบหมายให้ “บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด" ออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่ครอบคลุมการใช้งานเพลงของเจ้าของสิทธิจำนวนมากในใบอนุญาตเพียงใบเดียว การขออนุญาตจึงง่ายและสะดวกสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

บริษัทคัฟฟ่า มิวสิค จำกัด

เป็นองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง โดยรวมบริษัทค่ายเพลงผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงสากลหลักในประเทศไทยและค่ายเพลงไทยคุณภาพอันได้แก่ บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด มหาชน/ บริษัท โซนี่ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด/ เบเกอรี่ มิวสิค/ ค่ายเพลงแกะดำ (BlackSheep) ....

บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด

ชื่อเดิม คือ กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์ ซึ่งก่อตั้งในปี 2546 จากการร่วมกันระหว่าง บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม อันได้แก่ สิทธิในเนื้อร้อง ทำนองและการเรียบเรียงเสียงประสาน ของชาวไทยและต่างประเทศ และ บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งดูแลลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงทั่วโลกกว่า 1,400 บริษัท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...

ติดต่อสอบถาม

มีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ เรามีแพคเกตดีๆที่เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน ครอบคลุมครบทุกความต้องการไว้รอท่านอยู่

บริษัท คัฟฟ่า มิวสิค จำกัด
104/3 หมู่ 1   ตำบลนาจอมเทียน
อำเภอสัตหีบ   จังหวัดชลบุรี 20250

โทร. : 091 719 5526
แฟกซ์ : 033 115 293
อีเมล์ : kaffamusic2018@gmail.com

     

© kaffa music 2018. All rights reserved

สมัครสมาชิก

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง

*** หมายเหตุ ***

หลังจากที่ท่านทำการสมัครแล้ว กรุณาตรวจสอบอีเมล์ที่ท่านกรอกในการสมัครด้วย


*** โปรดอ่านเงื่อนไขการสมัครสมาชิก ก่อนที่จะกดยืนยันการสมัคร ***
1). ขอรับรองว่าข้อความหรือเอกสารนี้เป็นความจริงทุกประการ บุคคลที่กรอกข้อมูลอัน เป็นเท็จ โดยเจตนาปิดบังซ้อนเร้น ความไม่ถูกต้องของเอกสาร จะถูกการระงับสิทธิทันที
2). การลงทะเบียนเป็นเพียงการสมัครสมาชิกเพียงอย่างเดียว เพื่อรอการอนุมัติหลังจาก มีการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
3). รายละเอียดการจัดทำการลงทะเบียน กระทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย( พ.ร.บ.คอม 60 ) ทุกประการ
4). บุคคลใดแอบอ้างชื่อบริษัท/กลุ่ม/องค์กร/ของบริษัทคัฟฟ่า มิวสิค และในเครือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือมีพฤติกรรมในกรณีดังกล่าวในทางเสียหาย จะมีผลทางคดีอาญาและเพ่งกับบุคคลในกรณีดังกล่าวทันที

ข้าพเจ้ายอมรับเงื่อนไข