ในการชำระค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องนั้น จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ที่มีบัตรที่ออกโดยบริษัท MPC เพียงเท่านั้น ( ท่านสามารถตรวจสอบเจ้าหน้าที่ได้ภายในเว็ปนี้ ) โดยการชำระค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งจะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดเด็ดขาด หลังจากได้รับการอนุมัติแล้วจะได้รับสติกเกอร์และเอกสารใบขออนุณาต จากบริษัทซึ่งจะคุ้มครองสิทธิทันที
สิทธิในงานดนตรีกรรม หมายถึง สิทธิในทำนองเพลง, จังหวะ หรือเนื้อเพลง ที่ผู้ประพันธ์ได้เป็นผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ และสิทธิในงานสิ่งบันทึกเสียง หมายถึง สิทธิในงานเพลง, เสียงการแสดง หรือเสียงใดๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในสื่อชนิดใดก็ตาม
งานดนตรีกรรมครอบคลุมทำนองเพลง, ไม่ว่าจะมีเนื้อเพลงหรือไม่ก็ตาม, และอยู่ในหลายรูปแบบ ได้แก่ สิ่งบันทึกเสียง, โสตทัศนวัสดุ, ภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ต ส่วนงานสิ่งบันทึกเสียง หมายความรวมถึงสื่อต่างๆ อาทิ ซีดี, วีซีดี, มินิดิสก์, ดีวีดี หรือแม้แต่ไฟล์เสียงเพลงคอมพิวเตอร์ เช่น MP3 หรือ MIDI
เมื่อมีการใช้เสียงเพลงในที่สาธารณะ ผู้ที่ใช้เพลงจำเป็นต้องขออนุญาต ตัวอย่างเช่น ร้านค้าที่เปิดเพลงผ่านเครื่องเสียง, เจ้าของกิจการเคเบิ้ลทีวี และตู้คาราโอเกะ รวมถึงการแสดงสด ทั้งหมดนี้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
โดยทั่วไปแล้ว ผู้จัดงานที่มีการแสดงดนตรีเป็นส่วนประกอบ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการขออนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีหลายฝ่ายเกี่ยวข้องกับการนำเพลงออกเผยแพร่ในที่สาธารณะ ในกรณีนี้จะถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พุทธศักราช 2537 ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่องานลิขสิทธิ์ในความดูแลถูกนำไปใช้ในที่สาธารณะ คำว่า “สาธารณะ” หมายถึง สถานที่ใดก็ตามที่มิใช่การรวมตัวภายในครอบครัวหรือภายในบ้านเรือน งานต่างๆ เช่น งานเลี้ยงบริษัท, งานเลี้ยงวันสำคัญ หรืองานเต้นรำ ล้วนแต่ถือเป็นสาธารณะทั้งสิ้น ตัวอย่างงานที่เรียกว่าส่วนตัวได้ก็เช่น งานแต่งงานหรืองานเลี้ยงวันเกิด เป็นต้น มีคนจำนวนหนึ่งสงสัยว่า “ในเมื่อเป็นซีดีของเขา ทำไมเขาจะเล่นในที่ที่ต้องการหรือเวลาที่ต้องการไม่ได้” แต่การเป็นเจ้าของไม่ได้หมายถึงว่าเขามีสิทธินำมาเล่นในที่สาธารณะ ในหลายกรณีที่การแสดงนั้นเป็นไปเพื่อสาธารณกุศล บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด จะอนุญาตให้ใช้เพลงโดยไม่คิดมูลค่า ถ้าท่านคิดว่าการใช้งานของท่านไม่ใช่การนำออกแสดงในที่สาธารณะ กรุณาแจ้งให้บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ทราบ เพื่อพิจารณา
การนำเพลงไปใช้ในที่สาธารณะ ต้องขออนุญาตจากบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเพลงจากเทป ซีดี วิทยุ โทรทัศน์ หรือจากสื่ออื่นใด หากมีข้อสงสัยว่าต้องขออนุญาตหรือไม่ โปรดติดต่อสอบถามบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด
โดยปกติบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด จะจัดเก็บจากเจ้าของสถานที่ เว้นแต่ว่ามีการเช่าช่วงต่อสถานที่หรืออุปกรณ์เล่นเพลง ถ้าท่านจะเช่าระบบเสียง หรือระบบคาราโอเกะ ตู้เพลง เจ้าของระบบเสียง หรือระบบคาราโอเกะ ตู้เพลงนั้นก็ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด และถ้าท่านเป็นผู้จัดงาน ที่มีการเต้นหรืองานที่ใช้เพลงเป็นหลัก ท่านก็ต้องขออนุญาตจากบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด โดยตรง
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเพลงไปใช้ มีความรับผิดชอบต่อเจ้าของลิขสิทธิ์เท่าๆ กัน และต้องขออนุญาต ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อสอบถามบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด
บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด มีอัตราค่าลิขสิทธิ์ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณการใช้เพลง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคลอในผับ, เปิดเป็นเสียงรอรับสายโทรศัพท์, ในห้องเรียนแอโรบิค หรือห้องเรียนเต้น หากต้องการสอบถามเรื่องราคา โปรดติดต่อสอบถามบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด
นอกจากจะมีข้อกำหนดทางกฎหมายให้ท่านจ่ายเงินเพื่อขออนุญาตใช้เพลงแล้ว หากท่านใช้เพลงโดยมิได้ขออนุญาต ศาลยังสามารถออกคำสั่งให้ท่านหยุดใช้เพลงได้ นอกจากนี้ ยังอาจต้องมีการจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยจากการนี้อีกด้วย ดังนั้น หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อสอบถามบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด
โปรดทราบว่า การทำสำเนาเพลงลงในมินิดิสก์ ซีดี เทปเปล่า หรือคอมพิวเตอร์โดยมิได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องนั้น ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ใบอนุญาตของบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ไม่ได้ให้อนุญาตในการบันทึกซ้ำหรือทำสำเนา อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีท่านสามารถขออนุญาตเพื่อขออนุญาตทำสำเนาเพลงจากบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ได้เช่นกัน หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อสอบถามบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด
บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด จะแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของบริษัทสมาชิกให้ผู้รับอนุญาตทราบเมื่อได้รับการร้องขอ เพื่อให้ผู้รับอนุญาตรับทราบว่าใบอนุญาตนั้นครอบคลุมผลงานลิขสิทธิ์บริษัทบันทึกเสียงที่ตนใช้งานอยู่หรือไม่